สาเหตการปวดข้อนั้นเกิดจากโรค หรือภาวะผิดปกติของข้อ เช่น ข้อแพลงจากอุบัติเหตุ เข่าเสื่อมตามอายุ หรือ การติดเชื้อบางชนิด อาการสามารถปวดได้หลายๆข้อ ขึ้นกับสาเหตุและปัจจัย พบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยผู้สูงอายุ และอาการปวดอาจพบร่วมกับอาการกล้ามเนื้ออักเสบรอบๆ ข้อได้ ซึ่งมักจะทำให้ผู้มีอาการมีความไม่สุขสบายและทรมานจากการปวด ซึ่งมีสาเหตุมาจาก
สาเหตุของอาการปวดข้อ
- อุบัติเหตุ เช่น หกล้ม อุบัติเหตุจากยานพาหนะ จะมีอาการเฉพาะตำแหน่งเท่านั้น
- การเสื่อมของข้อตามอายุ เช่น เข่าเสื่อม ข่อต่อเสื่อมในผู้สูงอายุ พบได้ทั่วร่างกายโดยเฉพาะข้อเข่าเสื่อม และปวดหลังจากกระดูกสันหลังเสื่อม
- การใช้ข้อต่ออย่างหนักทำให้ข้ออักเสบ เช่น คนที่ทำงานพิมพ์ดีดและใช้คอมพิวเตอร์จะปวดข้อมือ ปวดหลัง คนเย็บปักถักร้อยจะปวดข้อมือและข้อนิ้ว เป็นต้น
- กล้ามเนื้ออักเสบ หรือ เส้นเอ็นอักเสบ จากการเล่นกีฬาที่ใช้ข้อต่อมากๆ เช่น กีฬาเทนนิส (โรคของข้อศอกจากเล่นเทนนิส(Tennis elbow)) ฟุตบอล (โรคของข้อเท้าจากการเล่นฟุตบอล(Footballer’s Ankle))
- การอักเสบจากการติดเชื้อ เช่นมี แผลจากผิวหนัง ลามเข้าข้อต่อ
- โรคติดเชื้ออื่นๆที่ทำให้ปวดข้อ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคหนองใน
- โรคทางกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็งกระดูก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคข้อรูมาตอยด์ โรคเกาต์ เป็นต้น
ปวดข้อจากเข่าเสื่อม กระดูกทับเส้น
โรคข้อเข่าเสื่อม คือ ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมลงอย่างช้าๆ พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการเสื่อมตามวัย ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังตรงเข่าเวลาเดิน รวมไปถึงเข่าผิดรูปได้
กระดูกทับเส้น หรือ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ การที่หมอนรองกระดูกสันหลังโป่งหรือปลิ้นออกมาจากแนวกระดูก ไปเบียดทับเส้นประสาทรอบๆกระดูก หรือเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกฉีกขาด ทำให้มีของเหลวในกระดูกไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งสาเหตุมาจากการใช้งานของกระดูก และข้ออย่างหนักจนทำให้ความดันในหมอนรองกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการเสื่อมของกระดูกจากการทำงานหนัก เช่น ยกของหนัก ก้มหลังนานๆ ซึ่งอาการจะมีมากขึ้นเวลาทำงานหนัก หรือ ก้มๆ เงยๆ เมื่อนอนพักจะอาการดีขึ้น
การดูแลตนเองเมื่อปวดข้อ
นอกจากจะต้องสังเกตอาการของตนเองและสามารถบรรเทาอาการง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อ หรือ ใช้สมุนไพรบรรเทาอาการปวด การกายภาพบำบัด รวมไปถึงการไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและสาเหตุ เพื่อทำการรักษาในกรณีที่อาการปวดเกิดจากการอักเสบติดเชื้อ หรือ เป็นโรคทางกระดูกแล้ว เรามีวิธีการบรรเทาอาการปวดข้อจากสาเหตุต่างๆ ได้ดังนี้ค่ะ
- พักการใช้ข้อที่เจ็บ หากเกิดอาการปวดจากอุบัติเหตุต้องประคบข้อที่เจ็บด้วยความเย็นภายใน 24 ชม.เพื่อลดอาการบวมและเลือดคั่ง
- ถ้าเป็นอาการเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจาก ลักษณะงาน การประกอบอาชีพ สามารถบรรเทาอาการปวดได้หลายวิธี เช่น
- นวดเบาๆ บริเวณที่ปวดข้อ อย่างสม่ำเสมอ
- ประคบอุ่น/ประคบร้อน (อาจใช้สมุนไพรเพิ่มการไหลเวียนของเลือด) วันละประมาณ 2-3 ครั้งๆ ละ 10 นาทีขึ้นไป เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงที่ข้อ
- ใช้ยาบรรเทาอาการตามที่แพทย์แนะนำ ร่วมกับ การกายภาพบำบัดตามอาการและตำแหน่งที่พบ
อาการผิดปกติของโรคปวดข้อที่ต้องพบแพทย์
สำหรับท่านที่มีปัญหาโรคปวดข้อเรื้อรัง และมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับโรคข้ออยู่แล้ว สามารถไปพบแพทย์ก่อนนัดได้ หากมีอาการผิดปกติดังนี้
- มีอาการปวด และข้อบวมมากยิ่งขึ้น ข้อบวมแดง และร้อน
- มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย
Relax Cream สมุนไพรบรรเทาอาการปวดข้อ เข่าเสื่อม กระดูกทับเส้น
การรักษาอาการปวดมีหลายหลายวิธี เริ่มจากการไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและอาการ การใช้ยา และการผ่าตัด ตลอดจนการรักษาแบบประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการ
ปัจจุบันการใช้สมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดในปัจจุบัน เป็นที่นิยมมากกว่าการรับประทานยาแก้ปวด เนื่องจากมีอันตรายและผลข้างเคียงน้อยกว่า เพราะหากรับประทานยาขณะท้องว่างหรือรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ และอาจมีผลต่อตับและไตได้
การใช้รีแลกซ์ครีม (Relax Cream) เพื่อบรรเทาอาการปวด จึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในการบำบัดและบรรเทาอาการปวดจากสาเหตุต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะเป็นผลดีสำหรับคนที่รับประทานยาแก้ปวดไม่ได้ เช่น โรคปวดข้อจากเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อาการปวดข้อจากการใช้งานข้ออย่างหนักในการเล่นกีฬา การทำงานหรือประกอบอาชีพใช้แรงงานที่ต้องลงน้ำหนักข้อ
รีแล็กซ์ครีม (Relax Cream) ครีมนวดนาโนเทคโนโลยีจากขมิ้นชัน มีคุณสมบัติช่วย บรรเทาอาการเจ็บ ปวด ลดการอักเสบของข้อต่อ เอ็น และกล้ามเนื้ออักเสบ นอกจากจะเป็นยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ แล้วยังสามารถต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการสร้างและต้านการออกฤทธิ์ของสารก่อการอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการปวดบวม และอักเสบของโรคข้อ เข่าเสื่อม และกระดูกทับเส้น ได้อย่างดี เป็นสมุนไพรไทยที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยรางวัลเหรียญทองโลก และมีความปลอดภัยได้รับการรับรองจาก อย.สามารถใช้บรรเทาอาการปวดได้อย่างดีจนไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด และที่สำคัญเราควรป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการปวดข้อดังนี้คะ
การป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- บรรเทาอาการปวดด้วยการเปลี่ยนอิริยาบถ ในการใช้กล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ ให้ถูกวิธี เช่น การนั่งทำงานหลังตรง คนที่ใช้ข้อมือบ่อยๆ ควรมีการพักการใช้งานทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อและผ่อนหลายอิริยาบถ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน เพื่อลดและป้องกันข้อเข่าเสื่อม และบรรเทาอาการปวดจากแรงกดข้อต่อต่างๆจากน้ำหนักตัวที่มากขึ้น
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น
- อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบสีเขียว ปลาตัวเล็กๆที่ทานได้ทั้งกระดูก นม
- อาหารวิตามินสูง เช่น ผักและผลไม้สีสันทุกชนิด เช่น แครอท มะเขือเทศ กะหล่ำปลีสีม่วง ข้าวโพด ฟักทอง
- ทานปลาทะเลน้ำลึกอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เช่น ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลม่อนเพราะมีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูงช่วยบำรุงกระดูกและข้อ ลดการปวดและอักเสบจากโรคข้อได้
- ระมัดระวังอุบัติเหตุหรือ กิจกรรมที่ต้องใช้งานข้อต่ออย่างหนัก เช่น การยกของหนัก กิจกรรมที่เสี่ยงต่อการกระแทกหรืออุบัติเหตุต่อข้อต่อ ต้องมีเครื่องป้องกันเป็นต้น
มองหาที่สาเหตุ และทำการรักษาที่ต้นเหตุ การรับประทานยาเมื่อมีอาการปวดทันทีไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด และควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพราะยาทุกชนิดล้วนมีผลต่อร่างกาย และเมื่อมีอาการผิดปกติของข้อควรปรึกษาแพทย์ สำคัญที่สุด คือ การใช้งานข้ออย่างถนอม หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายข้อ เช่น นั่งผิดท่า นั่งยองๆ วิ่งขึ้นบันได เพื่อที่ข้อ เข่าจะได้อยู่กับเราไปนานๆ